วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Collaborative Learning




Collaborative Learning


                       ( Cooperative and Collaborative Learning )  ความหมายการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative and Collaborative Learning) เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เพราะมีลักษณะเป็นกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบร่วมมือ ข้อแตกต่างระหว่าง Cooperative Learning กับ Collaborative Learning อยู่ที่ระดับความร่วมมือที่แตกต่างกัน Sunyoung, J. (2003) ได้สรุปว่า ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง Cooperative Learning กับ Collaborative Learning คือ เรื่องโครงสร้างของงาน ได้แก่ Pre – Structure , Task – Structure และ Content Structure โดย Cooperative Learning จะมีการกำหนดโครงสร้างล่วงหน้ามากกว่า มีความเกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างไว้เพื่อคำตอบที่จำกัดมากกว่า และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ชัดเจน ส่วน Collaborative Learning มีการจัดโครงสร้างล่วงหน้าน้อยกว่า เกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างแบบหลวมๆ (ill – Structure Task) เพื่อให้ได้คำตอบที่ยืดหยุ่นหลากหลาย และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ไม่จำกัดตายตัว ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเรียนการสอนออนไลน์มักนิยมใช้คำว่า Collaborative Learning
                 Collaborative Learning ว่าคือ การเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม ตามระบอบประชาธิปไตย และเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ทำให้สามารถปรับตัวอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

                Collaborative Learning เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในขณะที่ผู้เรียนและคณะได้ทํางานร่วมกัน

เพื่อสร้างความรู้ เป็นศาสตร์การสอน (Pedagogy) ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่การสร้างความหมายร่วมกัน และ

เป็นกระบวนการที่อุดมไปด้วยความรู้และขยายมากขึ้น (Matthews,1996) นอกจากนั้น Buffy (1993) 

กล่าวว่า ความรู้ ความจริง มีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง รอเพียงการถูกค้นพบโดยความพยายามของมนุษย์
ด้วยวิธีการทางสังคม โดยการช่วยเหลือพึ่งพาในการเรียนรู้ร่วมกัน (collaborative) ความรู้ คือ สิ่งที่คน
สร้างขึ้นมาด้วยการพูดคุยและการมีความเห็นพ้องกัน ทั้งยังมีความเห็นว่า Collaborative Learning 
ต้องการความเป็นอิสระไม่ขึ้นกับเนื้อหาวิชาหรือกระบวนการกลุ่ม ไม่มีการว่ากล่าวให้มีการทํางาน   
เป็นกลุ่มจากครู แต่ครูจะเป็นเพียงผู้รับผิดชอบ เป็นสมาชิกเช่นเดียวกับนักเรียนในชุมชนที่มีการค้นหา
ความรู้ 
               Collaborative Learning เป็นการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดในกลุ่มเล็ก ไม่ใช่
การเพิ่มความน่าสนใจของผู้มีส่วนร่วม แต่จะสนับสนุนการคิดวิเคราะห์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง
ผู้เรียน เป็นโอกาสที่จะปลูกฝังให้เกิดการอภิปรายกัน มีความรับผิดชอบกับการเรียนรู้ของตนเอง 
(Johnson and Johnson, 1986) 
สรุปได้ว่า Collaborative Learning เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยรูปแบบของวิธีการทางสังคม 
ที่มีการพูดคุยเรียนรู้ระหว่างกลุ่มคน เพื่อสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเองจากการมีปฏิสัมพันธ์
ระหว่างกัน โดยสนับสนุนการเรียนรู้ซึ่งเกิดจากความร่วมมือ การพึ่งพา และการช่วยเหลือกัน    
ให้มากที่สุด 
             Collaborative Learning เป็นปรัชญารูปแบบของการดําเนินชีวิต (life style) ของมนุษย์
ไม่ใช่เทคนิคในชั้นเรียน กล่าวคือ ในสถานการณ์ต่างๆ ผู้คนมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนกับ 
ผู้รอบรู้ มีความรับผิดชอบระหว่างกลุ่มครอบคลุมขอบเขตวิธีการที่กว้างขวาง ทั้งที่อยู่ในห้องเรียนหรือ
นอกห้องเรียน มีการสร้างกลุ่มทํางาน (group work) อยู่รอบๆกิจกรรมในชั้นเรียน มีการอภิปราย
ระหว่างบุคคลด้วยการบรรยายสั้นๆ มีการศึกษาค้นคว้ากันเป็นทีมทั้งเทอมหรือตลอดปี เป้าหมายและ
กระบวนการเป็นกิจกรรมที่หลากหลาย สมาชิกบางคนในกลุ่มหรือคณะร่วมกันทํางานกันเป็นกลุ่มเล็กๆ 
โดยเป็นลําดับขั้นตอน ส่วนคนอื่นๆอาจพัฒนาตนเองตามความสนใจ หรือมีการใช้คําถามในการพึ่งพา
ช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ บางครั้งภารกิจของผู้เรียนเป็นการสร้างความชัดเจน ภารกิจนี้ไม่ใช่ผลผลิต 
(Product) หรือผลลัพธ์ แต่เป็นกระบวนการอย่างมีส่วนร่วม สมาชิกแต่ละคนจะมีความรับผิดชอบ 
วิเคราะห์ และสร้างความหมายร่วมกัน 
           พื้นฐานทางทฤษฎีของ Collaborative Learning 
Collaborative Learning มีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีทางพุทธิปัญญา และคอนสตรัคติวิสต์ 
ดังที่ Barkley , Cross and Major (2004) ได้แสดงไว้ ดังนี้ 
2.1 การเชื่อมต่อกับพุทธิปัญญา (Cognitive Connection) นักพุทธิปัญญาสมัยใหม่ได้กล่าวถึง
โครงสร้างทางจิตใจ (mind) ที่เรียกว่า สกีมา (schema หรือ schemata) ซึ่งเป็นโครงสร้างประกอบด้วย
ข้อเท็จจริง ความคิด ความสัมพันธ์ระหว่างระบบต่างๆ เช่น คนมีสกีมาเกี่ยวกับวิทยาลัย จะเชื่อมโยงไป
ถึงลักษณะของนักเรียน รูปแบบของคณะ ที่ตั้ง เป็นต้น ดังนั้นสกีมาจึงเป็นการรวบรวมจัดระเบียบ
สารสนเทศเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเป็นความคิดรวบยอด (concept) จากที่ยกตัวอย่าง แต่ละคนจะมีสกีมา
เรื่องวิทยาลัยแตกต่างกัน ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากยิ่งขึ้นถ้าเขามีความรู้เดิมมาก่อน ทั้งนี้การค้นหา
สารสนเทศในสมองเป็นเรื่องที่ยาก มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับความลึกซึ้ง (deep) และลักษณะผิวเผิน 
(surface) ทําให้เกิดความแตกต่างทางการเรียนรู้ของ Saljo ซึ่งพบคําตอบในรูปแบบที่เป็นลําดับเกี่ยวกับ
ความเข้าใจได้ดังนี้ 
1) การเรียนรู้เป็นการได้มาซึ่งสารสนเทศ หรือการรู้ให้มาก (knowing a lot) 
2) การเรียนรู้ คือความทรงจํา (memorizing)  
3) การเรียนรู้เป็นการได้มาซึ่งข้อเท็จจริง และทักษะที่ใช้ 
4) การเรียนรู้จะสร้างสัมผัสการรับรู้ หรือสร้างความหมาย  
5) การเรียนรู้เป็นการทําให้เข้าใจ (comprehension) เป็นความสามารถในการทําความเข้าใจ 
(Understanding) ด้วยการตีความหมายหลายครั้ง (reinterpret) 
2.2 การเชื่อมต่อทางสังคม (Social Connections) จากฐานแนวคิดของ Vygotsky ที่กล่าวถึง 
ZPD หรือ Zone of Proximal Development ซึ่งเป็นพัฒนาการของความตั้งใจในการแก้ปัญหาที่
สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้กับการต้องได้รับการแนะนําจากผู้ใหญ่หรือการพึ่งพาช่วยเหลือ 
(collaborative) 
จากที่กล่าวมาข้างต้น Collaborative Learning เป็นการสอนและเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่
สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางพุทธิปัญญา และคอนสตรัคติวิสต์ที่ผู้เรียนจะต้องสร้างความรู้ขึ้นมา
ด้วยตนเอง โดยการทํางานร่วมกันเป็นกลุ่มผ่านการร่วมมือช่วยเหลือพึ่งพากัน 
สรุปได้ว่าการเรียนรู้แบบพึ่งพา (Collaborative Learning) มีฐานแนวคิดเกี่ยวกับความรู้ที่คิด
สร้างขึ้นมาเอง โดยผู้เรียนมีการจัดเก็บรวบรวมสารสนเทศเข้าไว้ในโครงสร้างทางปัญญา โดยผ่าน      
การเรียนรู้แบบร่วมมือพึ่งพาช่วยเหลือกันของคนในสังคม 

เปรียบเทียบบทบาทการเรียนรู้ของผู้เรียนในห้องเรียนแบบเดิมกับห้องเรียนแบบ Collaborative Learning 
ห้องเรียนแบบเดิม 
ห้องเรียนแบบ Collaborative Learning
ฟัง สังเกต  จดบันทึก
มีการเตรียมตัวน้อยถึงปานกลาง
ความเป็นตัวของตัวเองน้อยมาก ไม่ท้าทาย
ทำตามผู้นำ
มีความรับผิดชอบ
ฟังครู เขียนตามจากแหล่งที่เป็นความรู้ หรือผู้รู้
แก้ปัญหา  ผู้มีส่วนร่วม อภิปราย
มีการเตรียมตัวสูง
มีรูปแบบของความท้าทายมาก
ทำตามด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม
มีความรับผิดชอบร่วมกัน
รับฟังเพื่อน ตนเอง ชุมชน ให้ความสำคัญ กับแหล่งที่เป็นความรู้ หรือผู้รู้

เทคนิค Collaborative Learning 

    เทคนิคของ Collaborative Learning ได้มีนักการศึกษา Barkley, Cross และ Major 
(2004) ได้แบ่งเทคนิควิธีการ collaborative ออกเป็น 5 ลักษณะดังนี้  
     1 . เทคนิคสําหรับการอภิปราย (Techniques for Discussion) เป็นการแลกเปลี่ยน
ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ความเห็น ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กัน เนื่องจากการอภิปรายเพื่อ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจะช่วยผู้เรียนได้ในการหาวิธีการใช้ความคิด และเรียนรู้ด้วยการสื่อสาร กระตุ้น
ให้ผู้เรียนรู้จักคิดเกี่ยวกับหลักการ ลักษณะนิสัย และภาษา ทําให้ผู้เรียนได้มุมมองหลากหลาย           
มีความท้าทาย ชวนคิด ซับซ้อน ซึ่งเทคนิคนี้จะช่วยให้ผู้เรียนลึกซึ้งและอยู่ในความจําได้นาน เทคนิคนี้
ค่อนข้างยากที่จะทําให้ผู้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ถ้านักเรียนยังแสดงบทบาทเป็นเพียงผู้ฟังเฉยๆ  
เทคนิคนี้ต้องการการพูดคุย แสดงความคิด ความรู้สึก ความเชื่อ ซึ่งนักเรียนมักไม่กล้าแสดง         
ความคิดเห็น เพราะกลัวว่ามุมมองของตนเองอาจจะไม่ถูกต้องหรือถูกมองว่าไม่ฉลาด อย่างไรก็ตามครู
ต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดความท้าทายในชั้นเรียนเพื่อให้เกิดการอภิปราย ยุทธศาสตร์ที่จะ
นํามาใช้เพื่อสนับสนุนให้เกิดการอภิปราย 

2.เทคนิคสําหรับการสลับกันสอน (Reciprocal Teaching) สิ่งที่มีประสิทธิภาพที่สุด
ในการสอนแต่ละครั้งคือ ครูและผู้เรียนต้องมีเป้าหมาย ซึ่งวิธีการที่น่าสนใจคือ ให้ผู้เรียนสอนผู้เรียน
ด้วยกันเอง วิธีการแลกเปลี่ยนหรือสลับกัน (Reciprocal) 
นักเรียนจะเป็นทั้งครูและผู้เรียน ซึ่งจะมี         
การร่วมมือเพื่อช่วยเหลือในการเรียนรู้ซึ่งกันและกันผ่านคู่ของตนเอง 
การสอนแบบแลกเปลี่ยนนี้ ในการปฏิบัติจริงพบว่ามีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้มาก         
เป็นการลงมือปฏิบัติมากกว่าจะเป็นผู้รับ ผู้เรียนจะช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อให้ได้รับความรู้ หรือ 
ความเข้าใจ จะทําให้นักเรียนมีความรู้สูงขึ้นในการทําความเข้าใจและเพียงพอที่จะเป็นโค้ชเพื่อช่วยเหลือคนอื่น การสลับกันสอนนี้จะกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความรู้และเกิดทักษะความเข้าใจกับคู่ของตนเอง 

3. เทคนิคสําหรับการแก้ปัญหา (Techniques for Problem solving) ครูส่วนมากสนใจ
พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เรียน เนื้อหาที่ยุ่งยากจะเป็นแบบฝึกความคิด ปัญหาที่ใช้
นําเสนอผู้เรียนที่เป็นยุทธศาสตร์การสอนที่มีประสิทธิภาพคือ การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ 
(Problem-based Learning) เป็นแรงจูงใจให้เกิดการค้นหาความรู้ที่จําเป็นต่อการแก้ปัญหา 
จนประสบผลสําเร็จ การนําเสนอปัญหาต้องท้าทาย ผู้เรียนจําเป็นต้องฝึกคิด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้     
ในการคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทฤษฎีทางพุทธิปัญญาสามารถนํามาสนับสนุนความคิดได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาคือ ผู้เรียนประยุกต์ใช้ปัญหาได้ทั่วไป 
ตารางต่อไปนี้เป็นการออกแบบที่ช่วยผู้เรียนในการเรียนรู้ และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

4. เทคนิคการใช้กราฟิกและการจัดระเบียบสารสนเทศ (Techniques Using Graphic 
Information 
Organizer) บางครั้งภาพมีคุณค่ามากกว่าคําเป็นพันคํา การจัดระเบียบกราฟิกเป็น
เครื่องมือที่ทรงพลังในการเปลี่ยนสารสนเทศที่ซับซ้อนเป็นการแสดงภาพอย่างมีความหมาย เพราะ
สารสนเทศที่มีการจัดระเบียบแล้วจะช่วยผู้เรียนให้ค้นพบรูปแบบและการเชื่อมโยงระหว่างความคิด   
ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นไปไม่ได้ถ้าทําเพียงลําพัง นอกจากเทคนิคดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆทั้งหมดที่เป็นภาพรวมและรายละเอียดย่อๆแล้ว ยังช่วยผู้เรียนในการตีความหมาย การทําความเข้าใจ และทําให้หยั่งรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะการจัดระเบียบกราฟิกจะใช้คําเดี่ยวหรือวลีสั้นๆแล้วผสมผสานกับการแสดงภาพหรือไดอะแกรม การจัดระเบียบกราฟิกจะมีความยืดหยุ่นใน
การใช้ตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป

5. เทคนิคที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการเขียน (Techniques Focusing on Writing) ผู้เรียนใช้
การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น ซึ่งการเขียนเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ได้อย่างลึกซึ้ง สร้างความ
เข้าใจในหลักการและเนื้อหาสําคัญต่อการได้มาซึ่งทักษะการคิด การเรียนรู้อย่างร่วมมือที่เน้นเกี่ยวกับ
การเขียน

     การเรียนรู้แบบพึ่งพา (Collaborative Learning) และการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) 
  
      การเรียนรู้แบบพึ่งพา (Collaborative Learning) หมายถึง การปฏิบัติงานร่วมกันโดยเน้น   
การจัดระบบการเรียนรู้ มีการแบ่งปันความรู้ มีการยอมรับซึ่งกันและกัน มีการลงความเห็นร่วมกัน
ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือเป็นการสอนโดยใช้กลุ่มเดียวแล้วตั้งคําถามเพื่อหาคําตอบ โดยการแบ่งปัน
ให้สมาชิกในกลุ่มหาคําตอบ 
      การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) หมายถึงการจัดกิจกรรมเป็นกลุ่มย่อยโดย
สมาชิกทุกคนต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งสมาชิกต้องเข้าใจในกระบวนการทํางาน
ในลักษณะเผชิญหน้า เป็นการเน้นการปฏิบัติงานให้มีความสําเร็จในกลุ่มย่อย 

     ลักษณะเฉพาะของการเรียนรู้แบบ Collaborative Learning  
     การเรียนรู้ไม่ได้มีในเฉพาะกลุ่มนักเรียนเท่านั้น แต่เป็นการปฏิบัติร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน 
ซึ่งครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทางส่วนผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติ แล้วนําประสบการณ์มาแบ่งปันกัน โดยลักษณะ     
การเรียนรู้แบบ Collaborative Learning มีดังนี้ 
1. การแบ่งปันความรู้ระหว่างครูกับผู้เรียน การแบ่งปันความรู้แบบเดิมในห้องเรียน      
   ครูเป็นผู้ให้ความรู้ แต่นักเรียนเป็นผลที่ได้จากการปฏิบัติโดยประสบการณ์และเกิดความรู้ 
2.   การแบ่งปันการควบคุมห้องเรียนระหว่างครูกับผู้เรียน ครูเป็นผู้กําหนดเป้าหมาย             
      ส่วนนักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติตามงานที่ได้รับมอบหมาย และประเมินความสมบูรณ์ของ 
      องค์ความรู้ที่ได้ร่วมกันของสมาชิก 
3.   ครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง โดยผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ที่มีความสําคัญต่อการเรียน 
4.   ความหลากหลายของสมาชิกในกลุ่ม ครูให้ผู้เรียนจัดกลุ่มแล้วทํางานร่วมกันตามเป้าหมาย



แหล่งอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น